วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สมาชิกกลุ่ม




สมาชิกกลุ่ม โลกของผึ้ง(ตัวน้อยๆ)



1. 563410011-3 นางสาวอรอนงค์ พงศ์หิรัญ ICT#3



2. 563410128-2 นางสาวกาญจน์กนก งอกกำไร ICT#3


3. 563410070-7 นายนราวุฒิ นามชารี ICT#3



4. 563410067-6 นายญาณสิทธิ์ ทรัพย์ทวี ICT#3


สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


แผนผังความรู้

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิดีโอ



      การลงพื้นที่ หรรถกรรมการทอเสื่อกก




วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ลวดลายเสื่อ

ลวดลายเสื่อ

1. ลวดลายเสื่อชั้นเดียว เสื่อชั้นเดียวหรือเรียกอีกอย่างว่า เสื่อลายขัด          
    มีลวดลายที่แตกต่างกันด้วยวิธีการทอ และการให้สีกกเพราะกก แต่ละสีแต่ละเส้น ซึ่งใช้ในการทอจะเป็นตัวกำหนดลวดลายต่าง ๆ ของเสื่อ ลายบางชนิด อาจจะเปลี่ยนสีเส้นกกได้ตามความชอบของผู้ใช้ แต่ลายบางชนิด เช่น ลายดอกมะขาม สีของเส้นกกจะเป็นสิ่งกำหนดลักษณะลายที่ประยุกต์มาจากธรรมชาติ ดังนั้นจึงเปลี่ยนสีเส้นกกไม่ได้ต้องใช้สีตายตัวลวดลายชนิดต่าง ๆ แบบเสื่อชั้นเดียว
- ลายก้างปลา ในช่วงลายใช้กก 2 สี คือ สีเหลือง และสีดำของกกที่ใช้เปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้ทอ
- ลายตาแขก ในช่วงลายใช้กก 4 เส้น สีของเส้นกกสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการ
- ลาย 3 เส้น (ลายตาเหลือบ) ในช่วงลายใช้กกในการทอ 3 สี ผู้ทอสามารถเปลี่ยนแปลงสีของเส้นกกได้ตามความต้องการ
- ลายไส้ปลาไหล ในช่วงลาย ใช้กก 2 สีสีของเส้นกกสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการ
- ลายเสื่อจันท์ ในช่วงลายใช้กก 2 สี ผู้ทอ สามารถเปลี่ยนแปลงสีของกกได้ตามความต้องการ
- ลายตะแคง ในช่วงใช้กก 4 สี ของเส้นกกสามารถเปลี่ยนแปลงได้ความความต้องการของผู้ทอ
- ลายดอกมะขาม ในช่วงลายใช้กก 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียว การทอเสื่อลายดอกมะขามสีของเส้นกกต้องตายตัว เพราะเป็นสีที่ใช้แทนสีของดอกมะขามซึ่งเป็นสีที่เป็นจริงตามธรรมชาติ
- ลายตารางสอดไส้ ในช่วงลายใช้กก 3 สี สีของเส้นกกผู้ทอสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้ทอ
- ลายสามเส้นแดงดำ (ลายโบราณ) ใช้กก 2 สี คือ การทอเสื่อลายนี้ต้องใช้สีของกกตายตัว คือ สีแดงและสีดำ
- ลายสองเส้นแดงดำ (ลายโบราณ) ใช้กก 2 สี สีของเส้นกกที่ใช้ในการทอลายนี้ ต้องใช้สีตายตัว คือสีแดงสีดำ
- ลายข้าวเปลือก ในช่วงลายใช้กก 3 สี ผู้ทอสามารถเปลี่ยนแปลงสีของเส้นกกได้ตามความต้องการ
- ลายปลาไหลสอดไส้ ในช่วงลายใช้กก 3สี ผู้ทอสามารถเปลี่ยนแปลงสีของเส้นกกได้ความต้องการ
- ลายตาคู่ ในช่วงลายใช้กก 2 สี ผู้ทอสามารถเปลี่ยนแปลงสีได้ตามความต้องการ
- ลายคดกริช ในช่วงลายใช้กก 2 สี ผู้ทอสามารถเปลี่ยนแปลงสีได้ตามความต้องการ
- ลายคลื่นน้ำ ในช่วงลายใช้กก 2 สี ผู้ทอสามารถเปลี่ยนแปลงสีได้ตามความต้องการ
- ลายไม้กางเขน แดง-ดำ ในช่วงลายใช้กก 2 สี ผู้ทอสามารถเปลี่ยนแปลงสีได้ตามความต้องการ
- ลายไข่มุก ในช่วงลายใช้กก 2 สี ผู้ทอสามารถเปลี่ยนแปลงสีได้ตามความต้อง

2. ลวดลายเสื่อสองชั้น เสื่อสองชั้นมีวิธีการผลิตที่แตกต่างจากเสื่อชั้นเดียว คือ การร้อยเอ็น วิธีการร้อยเอ็นเสื่อสองชั้น ไม่เป็นมาตรฐานเหมือนกับการร้อยเอ็นเสื่อชั้นเดียวซึ่งต้องร้อยทุกรูและทุกร่องฟืม แต่เสื่อสองชั้นจะร้อยเอ็นตามลายที่ผู้ทอต้องการ ลวดลายที่เกิดขึ้นจากการทอเสื่อสองชั้นจึงเป็นการผสมผสานระหว่างการร้อยเอ็นกับการใช้สีของเส้นกก การทอเสื่อสองชั้นในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมทอสักเท่าใด มักจะเป็นสินค้าตามสั่งเสียมากกว่า เพราะใช้เวลาในการทอนานกว่าเสื่อชั้นเดียวทั้งต้องกำหนดเรื่องของการร้อยเอ็นขึ้นเพื่อให้ได้ลวดลายตามต้องการ การร้อยเอ็นสองชั้นจึงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการผิดพลาดเพราะจะทำให้ลายที่ต้องการเปลี่ยนไปเสื่อสองชั้นที่ทอกันอยู่มีลวดลายไม่มากเท่ากับเสื่อชั้นเดียวลวดลายที่เกิดจากเสื่อสองชั้นจะมีลักษณะของลายที่เหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นเสื่อที่ใช้ประโยชน์ได้

ขนาดของเสื่อ


ขนาดของเสื่อ
-          80 ซม.
-          100 ซม.
-          120 ซม.
-          140 ซม.

วิธีการเก็บรักษา
1. ห้องที่เก็บควรไม่มีอากาศชื้น
2. เมื่อขึ้นราควรเช็คเเละขัด แล้วพึ่งแดดให้แห้ง

3. ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปแล้วควรมีถุงพลาสติกห่อหุ้มเพื่อไม่ให้อากาศเข้า






การแปรรูปเสื่อกก
เมื่อได้ผืนเสื่อที่ทอเสร็จเรียบร้อยแล้ว มักนำไปใช้ในการประดับตกแต่ง หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น เช่น พื้นหลังนาฬิกา กระเป๋า กล่องทิชชู และอื่นๆ  กก  











การย้อมสี การหมัดหมี่เส้นกก

   การย้อมสี

  การหมัดหมี่เส้นกก
หมัดหมี่เส้นกก เพื่อต้องการให้เสื่อที่ทอออกมามีลายที่เราชอบตามที่เราต้องการ มีลักษณะการมัดหมี่เหมือนกับมัดหมี่เส้นไหม ลายทีได้ออกมาเกิดจากการใช้เชือกฟางหรือยางในรถยนต์ ยางในรถจักรยานยนต์ ซึ่งทำเป็นเส้นเล็กๆ กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร มัดเส้นกกที่เตรียมไว้เป็นกำๆ ส่วนที่มัดไว้ให้โดนสีย้อม เมื่อย้อมเสร็จ ส่วนที่มัด ไว้เมื่อเกาะยางในรถออก จะเป็นสีขาว และเป็นลายที่เราต้องการ การมัดหมี่ เส้นกกมัดได้หลายลายเช่น ลายขิด ต่างๆ ลายไทยต่างๆ ภาพวิว ทิวทัศน์ ลายเปีย ภาพเสือ ภาพช้าง ภาพนก ภาพเครื่องบินมัดเป็นตัวหนังสือและอื่นๆ การมัดหมี่เส้นกก ให้เป็นลวดลายต่างๆ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน และละเอียดพอสมควร กว่าจะออกเป็น ลายตามที่เราต้องการ ได้ การมัดหมี่เป็นลายไทย จ่างๆลายขิดต่างๆ จะไม่ยุ่งยากมากนักถือว่าเป็นการมัดลายแบบพื้นๆ ธรรมดาทั่วไป ซึ่งคนนิยมมัดกันทั่วไป มัดได้ง่าย เร็วและมีความคล่องในการมัด เพราะลายขิดต่างๆ ลายไทยต่างๆ มัดบ่อยทำให้มีความชำนาญ การมัดหมี่เส้นกกเป็นลายไทย ลายขิด สามรถมัดได้เป็นทีละกำใหญ่ๆได้


  อุปกรณ์ที่ใช้ในการย้อมสีเส้นกก

1)  สี
2)   ปิ๊ปหรือถังสำหรับต้มน้ำ
3) ไม้ฟืนหรือใช้แก๊สหุงต้ม
4)  น้ำ
5) ไม้พายสำหรับกวนและย้อมสี
6)  เส้นกก

7)  ราวไม้ไผ่สำหรับตากเส้นกกที่ย้อมแล้ว







สีที่ใช้ย้อม

สีที่ชาวบ้านแพงนำย้อมเส้นกกนั้นเป็นเส้นเคมีหรือที่เรียกว่าสีวิทยาศาสตร์ ที่นำเข้าจาก ต่างประเทศคือประเทศเยอรมันและประเทศจีน โดยพ่อค้าที่กรุงเทพมหานคร จะสั่งนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อจำหน่ายให้กับพ่อค้าต่างจังหวัด ซึ่งค้าจากต่างจังหวัด ซึ่งพ่อค้าจากบ้านแพงสั่ง ซื้อสีจากพ่อค้าที่กรุงเทพมหานคร อีกทอดหนึ่ง เป็นสีบรรจุถัง ถัง 25-30 กิโลกรัม สีหลักๆ ที่พ่อค้า บ้านแพงซื้อเพื่อนำมาจำหน่ายคือ สีเขียว สีเหลือง,สีชมพู,สีบานเย็น,สีม่วง,สีน้ำตาลและสีฟ้า ส่วนสีที่ผสมเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสีหลักดังกล่าวก็มีสีแดง สีน้ำเงินและสีดำ 

      การย้อมสีเส้นกก

วิธีย้อมสี นำน้ำใส่ปิ๊บ หรือถังย้อมประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของถังย้อม ก่อไฟให้เดือดให้มีความร้อนคงที่สม่ำเสมอ นำกกที่แช่น้ำจนอิ่มตัวแล้วมาเตรียมย้อม นำสีที่ต้องการจะย้อมเทลงในถังย้อม เมื่อสีที่ละลายดีแล้วก็นำกก ที่เตรียมย้อมลงในถังย้อม ใช้ไม้พาย กวนสีและเส้นกก ให้เข้ากันแช่เส้นกก ไว้ในน้ำเดือด ประมาณ 20-30  นาที นำเส้นกก ที่ย้อมแล้วออกจากถังย้อมไปล้างในน้ำเปล่า 2-3 น้ำ เพื่อป้องกันกาตากสี แล้วนำไปตากแดดบนราวไม่ไผ่จนแห้ง นำเส้นกกที่ย้อมสีและแห้งแล้วมามัดรวมกันเป็นมัดโดยแยกเป็นแต่ละสี, การย้อมสีเส้นกกจะย้อมจากสีอ่อนไปสีเข้ม โดยการย้อมแต่ละครั้ง จะไม่ได้เปลี่ยนน้ำในถังย้อมเลยซึ่งมีเทคนิคและขั้นตอนการย้อมคือ เริ่มย้อมจากสีชมพู สีเหลือง สีแดง สีเขียว และสีดำ ตามลำดับ ถ้าน้ำในถัง ย้อมน้อยก็เติมน้ำไปเรื่อยๆ ถ้าสีแต่ละสีจางลงก็เติมสีไปเรื่อยๆตามที่เราต้องการความเข้ม การย้อมเส้นกกมรแต่ละครั้งจะย้อมมากหรือน้อยอยู่ที่ความต้องการของคนย้อมหรืออยู่ที่แรงงานและเวลาคนที่จะทอเสื่อ



การจักหรือกรีดต้นกก

                                            การจักหรือกรีดต้นกก    


            การจักหรือกรีด อุปกรณ์ที่ใช้กรีดต้นกกคือมีดเล่มเล็กๆ หรือแผ่นเหล็กบางๆ มีความคมพอประมาณไม่จำเป็นต้องคมมาก  เพราะถ้ามีดคมมากเกินไปขณะกรีดต้นกกให้เป็นเส้นอาจทำให้เส้นกกขาดได้   ต้นกกที่มีขนาดโตพอเหมาะพอดีในการนำมากรีดจะกรีดเป็นเส้นกกได้ 3-4 เส้น  ส่วนเส้นกกที่มีขนาดเล็กจะกรีดเป็นเส้นกกได้ 2 เส้นและต้นกกบางต้นที่เล็กที่สุดก็ไม่ต้องกรีดเลย    การกรีดกกแต่ล่ะต้นต้องใช้มีดกรีดกกแทงในส่วนที่เป็นลำต้นห่างจากปลายลำต้นสุดประมาณ 10 เซนติเมตร  โดยให้ได้เส้นกกมีความกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร   แล้วกรีดไปทางปลายของต้นกกจนสุด  แล้วกลับมากรีดในส่วนที่เหลือทางลำต้นกกก็จะได้เส้นกก   เส้น   การกรีดจะกรีดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเปลือกสีเขียวข้างนอกของต้นกกเท่านั้นส่วนที่เป็นไส้ในหรือเส้นที่เป็นใยสีขาวภายในลำต้นกกก็ทิ้งไป    ( คุณแม่อุดม  พินหอม : สัมภาษณ์ )




การตัดหรือการเก็บเกี่ยวต้นกก

         การตัดต้นกกในแปลงปลูกกก ในอดีตใช้เคียวเกี่ยวและใช้มีดตัด โดยเลือกตัดเฉพาะต้นกกที่โตและสูงเท่านั้น ในปัจจุบันการตัดใช้เคียวเกี่ยวอย่างเดียว ตัดลำต้นกกทุกต้นไปพร้อมกันให้เรียบ เตียน ตัดลำต้นกกจนเกือบติดกับพื้นดิน ให้เหลือตอสูงจากพื้นดินประมาณ 5-7 เซนติเมตรขณะที่ตัดหรือเก็บเกี่ยวต้นกกนั้น ผู้ตัดต้นกกส่วนมากนิยมกำจัดวัชพืชไปด้วยโดยการถอนหญ้าและวัชพืชอื่นๆ เพื่อที่จะทำให้หน่อรุ่นใหม่โตขึ้นมาได้อย่างสะดวกและรวดเร็วอีกครั้ง เมื่อตัดต้นกกเสร็จแล้วก็มัดกกเป็นมัดๆ มัดนิ้ว  เพื่อสะดวกในการขนย้าย



การตากต้นกกและเส้นกก

     การตากต้นกกและเส้นกก
            การตากเส้นกกคือการนำเส้นกกที่กรีดแล้วมามัดเป็นมัดๆแล้วนำออกมาตากแดดโดยการวางบนพื้นดินหรือคอนกรีตแล้วขยายต้นกกให้แผ่บางๆเพื่อให้เส้นกกแห้งสนิท  การตากเส้นกกจะต้องพยายามตากเส้นกกให้แห้งสนิทที่สุดพยายามไม่ให้เส้นกกเหลือง   ถ้าเส้นกกเหลือง แล้วจะทำให้ย้อมสีไม่สวยงาม  เส้นกกที่แห้งสนิทจะมีสีขาวนวล  ถ้าแดดจัด 3-5 วัน เส้นกกก็แห้งสนิทแล้ว
 ( คุณแม่อุดม  พินหอม : สัมภาษณ์ )



ประโยชน์ของต้นกก

      การตากต้นกกและเส้นกก
            การตากเส้นกกคือการนำเส้นกกที่กรีดแล้วมามัดเป็นมัดๆแล้วนำออกมาตากแดดโดยการวางบนพื้นดินหรือคอนกรีตแล้วขยายต้นกกให้แผ่บางๆเพื่อให้เส้นกกแห้งสนิท  การตากเส้นกกจะต้องพยายามตากเส้นกกให้แห้งสนิทที่สุดพยายามไม่ให้เส้นกกเหลือง   ถ้าเส้นกกเหลือง แล้วจะทำให้ย้อมสีไม่สวยงาม  เส้นกกที่แห้งสนิทจะมีสีขาวนวล  ถ้าแดดจัด 3-5 วัน เส้นกกก็แห้งสนิทแล้ว
 ( คุณแม่อุดม  พินหอม : สัมภาษณ์ )

ประโยชน์ของต้นกก
1. ทำเป็นเสื่อสำหรับนอน  สำหรับปูพื้นในห้องรับแขกแทนพรม  และปูลาดตามพื้นโบส์ถวิหาร 
เพื่อความสวยงาม
2. ทำเป็นกระเป๋า  แทนกระเป๋าหนัง  ทำเป็นรูปต่าง ๆ  ได้หลายแบบ  แล้วแต่ผู้ประดิษฐ์คิดค้นแบบ
ต่าง ๆ  กัน  ทำเป็นกระเป๋าสตางค์   ทำเป็นกระเป๋าหิ้วสตรี   กระเป๋าใส่เอกสาร   แต่ปัจจุบันมีผู้ทำกันน้อย 
เพราะกระเป๋าหนัง  กระเป๋าพลาสติก  ราคาถูกลงมากการทำไม่ค่อยคุ้มค่าแรงงาน
3. ทำเป็นหมอน  เช่น  หมอนรองที่นั่ง  หมอนพิงพนักเก้าอี้  เรียกว่า  หมอนเสื่อ
4. ทำเป็นกระสอบ  เรียกว่ากระสอบกก
5. ทำเป็นเชือกสำหรับมัดของที่ห่อแล้ว  ตามร้านค้าทั่วไปนิยมใช้เชือกกก  เพราะราคาถูกมาก
6. ทำเป็นหมวก  ใช้กันแดด   กันความร้อนจากแสงแดด   กันฝน  หรือเพื่อความสวยงาม
7. ทำเป็นกระจาดใส่ผลไม้  หรืออาหารแห้ง
8. การใช้งานด้านภูมิทัศน์   ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับริมสระน้ำ   ในสวน  หรือปลูกในภาชนะร่วมกับ
ไม้น้ำอื่น ๆ
9. เป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน   และต้นกกมีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสีย   ปรับสมดุล
นิเวศน์วิทยา
10. ใช้เป็นยารักษาโรค  เช่น
          -  ใบ  ตำพอกฆ่าพยาธิบาดแผล
          -  ต้น  รสเย็นจืด  ต้มเอาน้ำดื่ม  รักษาโรคท่อน้ำดีอักเสบ  ขับน้ำดี
         -  ดอก  รสฝาดเย็น  ต้มเอาน้ำอม  แก้แผลเปื่อยพุพองในปาก
         -  เหง้า  รสขม  ต้มเอาน้ำดื่ม  หรือบดเป็นผง  ละลายน้ำร้อนดื่ม  บำรุงธาตุ 
   เจริญอาหาร  แก้เสมหะ  ขับน้ำลาย
          -  ราก  รสขมเอียน  ต้มเอาน้ำดื่ม  หรือตำกับเหล้า  คั้นเอาน้ำดื่ม  แก้ช้ำใน  ขับโลหิตเน่าเสีย

การปลูก

3.การเตรียมดิน


  การเตรียมดิน คือ การไถดินเพื่อจะทำการปลูกกก   การเตรียมดินต้องไถ 2 ครั้ง  ไถครั้งแรกเรียกว่า   ไถดะ  เป็นการไถเปิดหน้าดิน (กลบดินบนลงล่าง) และปราบวัชพืชในแปลง  ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์   วัชพืชในแปลงจะตายหมด   ไถครั้งที่ 2 เรียกว่า   ไถแปร  เป็นการไถพรวนดินให้ดินมีช่องอากาศในดิน  ดินจะมีความนิ่มและร่วนซุยจะทำให้กกปลูกติดเร็วและโตเร็ว   หลังไถแปรแล้วจะมีการคราดเพื่อให้ดินที่ไถแปรแล้วมีความราบและเรียบเป็นการพรวนดินครั้งที่  2   ปรับหน้าดินเก็บเศษหญ้าที่เหลือค้างอยู่ในแปลงออกพร้อมที่จะปลูกกกต่อไป  แล้วขุดดินเป็นหลุมเพื่อเตรียมปลูกกก  ( คุณแม่อุดม  พินหอม : สัมภาษณ์ )


การปลูกกก

            การปลูกกกใช้เหง้าหรือหน่อของกกซึ่งเป็นลำต้นใต้ดินมาตัดส่วนบนของลำต้นของกกออกให้เหลือความยาวจากเหง้าและหน่อและลำต้นประมาณ  30 -40 เซนติเมตร   แล้วนำไปปลูกในแปลงที่เตรียมดินไว้    แบ่งเหง้ากกรวมทั้งหน่อกกที่ติดกับเหง้าออกเป็นส่วนๆ  ประมาณ  3 – 5  เหง้าต่อหลุม  การปลูกจะปลูกเป็นหลุมถ้าในแปลงปลูกที่เตรียมไว้ไม่มีน้ำ   ถ้าในแปลงที่เตรียมดินไว้มีน้ำพอดีดินเป็นโคลนตมก็ใช้วิธีปลูกแบบปักดำเหมือนนาข้าวมีระยะห่างพอๆกันคือประมาณ   20 – 25 เซนติเมตร    ทั้งการปลูกแบบเป็นหลุมและปลูกแบบปักดำเมื่อกกเติบโตเต็มที่และแตกหน่อขยายเต็มที่    ระยะห่างระหว่างหลุมหรือระยะห่างระหว่างกอของกกจะไม่มีเลย  กกจะขึ้นเต็มแปลงปลูกกกไปหมด    ( คุณแม่อุดม  พินหอม : สัมภาษณ์ )


การดูแล บำรุงรักษา กกในแปลงปลูก

            การปลูกกกจะให้ได้กกที่มีคุณภาพและเจริญเติบโตเร็วและได้ผลผลิตมาก ผู้ปลูกกกต้องเอาใจใส่แปลงปลูกกกพอสมควร ขยันในการกำจัดหญ้าและวัชพืชอื่นๆ ในแปลงปลูกกก ดูแลเรื่องน้ำในแปลงให้มีน้ำอยู่ในระดับพอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป เพราะน้ำเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกของการปลูกกก ถ้าน้ำน้อยก็หาวิธีการสูบน้ำเข้าสู่แปลงกกถ้าน้ำมากเกินไปก็ควรใช้วิธีวิดน้ำออกหรือสูบออกจากแปลงกก ระดับที่ขังอยู่แปลงกกที่มีความพอดีสูงจากพื้นประมาณ 7-10 เซนติเมตร เมื่อต้องการให้กกในแปลง เจริญเติบโตเร็วกว่าปกติเพื่อลดระยะเวลาการรอตัดหรือเก็บเกี่ยวกกจากปลูกกกก็มีการใส่ปุ๋ยใน แปลงกก ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็ได้